Saturday, September 8, 2012

วิธีการแสดง

วิธีการแสดง 

องค์ประกอบของการแสดงสิละ


                        . ผู้แสดง การแสดงสิละนิยมเล่นกันในหมู่ชาวไทยมุสลิม เป็นศิลปะการแสดงที่ต้องใช้พละกำลัง และมีท่าทางโลดโผน เฉียบคม การแสดงสิละ แบ่งเป็น ๓ ประเภทคือ
                        .. การรำ สิละเดี่ยว คือ การอวดลวดลายท่าทางของสิละเพียงคน เดียว นิยมรำท่าไหว้ครู สิละสามารถนำมา แข่งขันเพื่อแสดงท่าสวยงามได้ สิละชนิดนี้ ไม่มีท่าทางการต่อสู้ ท่าทางมุ่งไปในการ แสดงถึงลีลาการก้าวเท้า ถอนเท้า หมุนลําตัวและตั้งลําแขนและพลังของกล้ามเนื้อ
                        
ภาพการร่ายรำสิละเดี่ยว
                        .๒ การรำสิละคู่ คือการ ต่อสู้ของคนเพียง ๒ คน ลักษณะการแสดง มี ๒ ลักษณะคือ
                        ) สิละคู่เพื่อการ แข่งขัน จัดเป็นกีฬาพื้นบ้าน ผู้แสดงมี ๒ คน เป็นฝ่ายรุกกับฝ่ายรับ มีการตัดสิน แพ้-ชนะ และมีกติกาการแข่งขัน การแพ้- ชนะดูจากท่าทางการต่อสู้ฝ่ายใดทำให้อีก ฝ่ายล้มลง หรือมีการแก้เกมกันในระหว่าง แสดงอย่างมีชั้นเชิง หรือตัดสินแพ้-ชนะ ตามเสียงปรบมือของผู้ชม
                        )สิละคู่เพื่อแสดง ความสวยงามของท่าทางการต่อสู้ เป็นการ ต่อสู้ที่ไม่อันตราย แสดงให้ผู้ชมดู ไม่เอา จริง สิละชนิดนี้ใช้ผู้ชาย หรือผู้หญิงแสดงก็ได้

โอกาสที่แสดงปันจักสีลัต

โอกาสที่แสดง


       
        แสดงในงาน รื่นเริงและงานพิธีต่างๆ เช่น งานฮารีรายอ พิธีเข้าสุหนัต การแต่งงาน งานประเพณีแห่นก งานประจำ ปีหลังหลังฤดูเก็บเกี่ยว งานอนุรักษ์เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน งานเฉลิมฉลองพิธีการต่างๆ เป็นต้น แสดงได้ทั้งกลางวันและกลางคืน การแสดง สิละในสมัยแรกๆ เป็นการแสดงเพื่อความ สนุกสานานเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด จากการทำงาน และมารวมกลุ่มในการ สร้างความสนุกครื้นเครงในหมู่บ้านเพราะ สื่อบันเทิงอื่นๆ เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิต ของคนน้อยมาก สิละจึงเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่ อยู่ในความนิยมของชาวบ้าน ทำให้เกิดการ รวมตัวกันแสดง

Thursday, September 6, 2012

การรับสิละมาแสดง


        
             การแสดงสิละเป็นการแสดงที่มี ระเบียบแบบแผนประพฤติปฏิบัติกันมาเป็น เวลานานจนกลายเป็นธรรมเนียม หรือ ขนบนิยมในการเล่นสิละ เมื่อเจ้าภาพ ต้องการรับคณะสิละไปแสดง ก็ต้องนำ ขันหมากไปหาคณะสิละเพื่อให้มาแสดง การติดต่อสิละมาแสดง ทำให้เกิดขนบนิยม ในการรับสิละมาแสดง ดังนี้
             ๑. การรับขันหมาก ขันหมากเป็น เครื่องบูชาครูหมอตายาย และใช้เป็นเครื่อง แสดงพันธะสัญญาระหว่างศิลปินกับ เจ้าภาพผู้รับศิลปิน การรับขันหมากมี ปรากฏในการละเล่นพื้นเมืองภาคใต้เกือบ ทุกชนิด การการแสดงสิละในปัจจุบันยังมี หลายคณะที่ยังรักษาขนบนิยมการรับ ขันหมาก แต่ก็มีหลายคณะที่ไม่ได้ยึดปฏิบัติ การรับขันหมากของสิละ มี ๒ ครั้ง คือ

            ๑.๑ การรับขันหมากขณะไป ติดต่อคณะสิละมาแสดงในงานต่างๆ ขันหมาก ประกอบด้วย หมาก ๓ คำ พลู ๓ ใบ ใบพลูต้องทาปูน เทียน ๓ เล่ม พร้อม เงิน ๒๕ บาท เจ้าภาพนำไปไหว้คณะสิละ และประสานงานให้คณะสิละไปแสดง เผยแพร่ในงานต่างๆ ถ้าสามารถไป ร่วมงานได้ก็จะรับขันหมากไว้แล้วนัดหมาย วัน เวลาที่ไปแสดงและตกลงราคากัน
            ๑.๒ การรับขันหมากเมื่อถึง วันที่นัดแสดงสิละ โดยเมื่อคณะมาถึง สถานที่รับแสดง เจ้าภาพออกมาต้อนรับ พร้อมต้องมอบขันหมากอีกครั้งหนึ่ง โดยมี เงินค่าขันหมากคือเงินค่าว่าจ้างตามแต่จะ ตกลงกัน

ความเป็นมาของปันจักสีลัตหรือสิละ

ความเป็นมาของปันจักสีลัตหรือสิละ

   ในภาคใต้ของประเทศไทย

การเล่นสิละมีปรากฏในภาคใต้ ตอนล่างของไทยเป็นเวลาช้านาน โดยได้รับอิทธิพลจากชาวมุสลิมที่เข้ามาจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย เมื่อชาวมุสลิมส่วนหนึ่งที่อพยพเข้ามาในอำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ทำให้เริ่มมีการแสดงสิละขึ้น การเล่นสิละได้ถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา มีการถ่ายทอดการเล่นสู่ลูกหลานทำให้ลูกหลานชาวสงขลาใน4อำเภอดังกล่าวมีศิลปินมีความสามารถในการเล่นสิละซึ่งเป็นศิลปะชั้นเชิงการต่อสู้ด้วยอาวุธมือเปล่าเป็น และได้กลายมาเป็นศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นจนทุกวันนี้

Wednesday, September 5, 2012

ปันจักสีลัต

ปันจักสีลัต หรือ สิละ


การแสดงสีละ ...เป็นการแสดงที่ทีมานานแถวแหลมมาลายู อินโดนีเซีย  มาเลเซีย และแพร่มาแถวชายแดนภาคใต้ของไทย ตามประวัติบอกว่าเป็นการแสดงหน้าที่ประทับขององค์ศุลต่าน  เป็นรูปแบบการแสดงที่วิวัฒนาการมาจากการต่อสู้  แต่สังเกตุจากการแสดงนั้น มีเครื่องดนตรี 4 ชิ้นคือปี่ ฆ้อง และกลองหรือทับ  เครื่องดนตรีเหล่านี้จะเป็นตัวบอกจังหวะ เร็ว..ช้า