Thursday, September 6, 2012

การรับสิละมาแสดง


        
             การแสดงสิละเป็นการแสดงที่มี ระเบียบแบบแผนประพฤติปฏิบัติกันมาเป็น เวลานานจนกลายเป็นธรรมเนียม หรือ ขนบนิยมในการเล่นสิละ เมื่อเจ้าภาพ ต้องการรับคณะสิละไปแสดง ก็ต้องนำ ขันหมากไปหาคณะสิละเพื่อให้มาแสดง การติดต่อสิละมาแสดง ทำให้เกิดขนบนิยม ในการรับสิละมาแสดง ดังนี้
             ๑. การรับขันหมาก ขันหมากเป็น เครื่องบูชาครูหมอตายาย และใช้เป็นเครื่อง แสดงพันธะสัญญาระหว่างศิลปินกับ เจ้าภาพผู้รับศิลปิน การรับขันหมากมี ปรากฏในการละเล่นพื้นเมืองภาคใต้เกือบ ทุกชนิด การการแสดงสิละในปัจจุบันยังมี หลายคณะที่ยังรักษาขนบนิยมการรับ ขันหมาก แต่ก็มีหลายคณะที่ไม่ได้ยึดปฏิบัติ การรับขันหมากของสิละ มี ๒ ครั้ง คือ

            ๑.๑ การรับขันหมากขณะไป ติดต่อคณะสิละมาแสดงในงานต่างๆ ขันหมาก ประกอบด้วย หมาก ๓ คำ พลู ๓ ใบ ใบพลูต้องทาปูน เทียน ๓ เล่ม พร้อม เงิน ๒๕ บาท เจ้าภาพนำไปไหว้คณะสิละ และประสานงานให้คณะสิละไปแสดง เผยแพร่ในงานต่างๆ ถ้าสามารถไป ร่วมงานได้ก็จะรับขันหมากไว้แล้วนัดหมาย วัน เวลาที่ไปแสดงและตกลงราคากัน
            ๑.๒ การรับขันหมากเมื่อถึง วันที่นัดแสดงสิละ โดยเมื่อคณะมาถึง สถานที่รับแสดง เจ้าภาพออกมาต้อนรับ พร้อมต้องมอบขันหมากอีกครั้งหนึ่ง โดยมี เงินค่าขันหมากคือเงินค่าว่าจ้างตามแต่จะ ตกลงกัน

. ขนบนิยมก่อนการแสดงคณะ สิละเมื่อรับการแสดงสิละก็จะมีการเรียก ขันหมาก และติดต่อกำหนดวันแสดงเมื่อถึง วันจริงก่อนคณะสิละจะออกจากบ้านนัก เมื่อถึงบ้านเจ้าภาพคณะสิละรับ ขันหมากเรียบร้อยแล้ว นักดนตรีก็จะ บรรเลงเพลงอีก จบเพื่อประกาศให้ทราบ ว่า คณะสิละเดินทางมาถึงแล้ว ชาวคณะ ทุกคนก็จะพักผ่อนตามอัธยาศัย ผู้แสดง เตรียมแต่งกาย เมื่อถึงเวลาที่ต้องการ แสดงสิละจริงๆ นักดนตรีสิละจะต้องเริ่ม โหมโรงอีกครั้งหนึ่ง บรรเลงเพลงเดิม จบ จึงเริ่มมีการไหว้ครู
          
           ๓. ขนบนิยมหลังการแสดงเมื่อ คณะสิละแสดงการต่อสู้เรียบร้อยแล้วและ เลิกโรง นักดนตรีจะบรรเลงเพลงสิละอีก ๓ จบ จากนั้นก็จะเดินทางออกจากบ้าน เจ้าภาพ เมื่อคณะสิละเดินทางกลับถึงบ้าน ที่นัดหมายกันครั้งแรก นักดนตรีทุกคนจะ ร่วมบรรเลงเพลงสิละอีก ๓ จบ เพื่อ ประกาศให้ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านได้ ทราบว่าคณะสิละเดินทางกลับมาถึงแล้ว


No comments:

Post a Comment